ศูนย์ไตเทียมให้บริการตรวจวินิจฉัย และดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต ทั้งแบบชนิดเรื้อรัง , เฉียบพลัน , ฟอกเลือดประจำอย่างครบวงจร
ภาวะไตวาย
- – สภาวะที่ไตทำงานลดลงจากสาเหตุต่างๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับของเสียในร่างกายออกมาในปัสสาวะได้ตามปกติ เป็นผลให้เกิดการคั่งค้างของเสียในร่างกาย
อาการไตวายแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
- – อาการไตวาย : ที่เกิดขึ้นเฉียบพลันถ้าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายได้รับการแก้ไขไต มักจะกลับมาทำงานเป็นปกติในเวลา 2-4 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องรับการรักษา ด้วยการฟอกไตด้วยเครื่องฟอกไตเทียม ก็มักจะเป็นการรักษาชั่วคราว จนกว่าไตจะฟื้นตัว
- – อาการไตวายชนิดเรื้อรัง : ต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งตลอดไป เพื่อทำให้อาการปฏิบัติตัวทั่วไป สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้อยเครื่องไตเทียม
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
- – การกรองของเสียออกจากเลือด โดยใช้เครื่องไตเทียม หรืออาจเรียกว่า “เครื่องฟอกเลือด” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ทดแทนไต โดยใช้ตัวกรองช่วยทำให้เลือดสะอาด และช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสียเกลือแร่ระหว่างเลือด
- – โดยใช้เวลาครั้งละ 4-5 ชั่วโมงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถึงแม้จะมีเครื่องมือที่ช่วยทดแทนไตได้แต่ก็ไมาสามารถทำหน้าที่ของไตได้ทั้งหมด เพราะไตคนปกติทำงานตลอดเวลาไม่หยุดแต่ผู้ป่วยที่ฟอกดลือดสัปดาห์ ละ 8-10 ชั่วโมงเท่านั้น
- – นอกจากนั้นไตยังทำหน้าที่อื่นๆ เช่น การสร้างฮอร์โมน ซึ่งไม่สามารถทดแทนด้วยการฟอกเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาร่วมด้วยผู้ป่วยจึงควรเข้าใจปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
ประโยชน์ที่ได้รับจากเครื่องไตเทียม
- – อาการอันเกิดจากการคั่งของเกลือ และของน้ำ ได้แก่ มีอาการบวม , มีอาการหอบ , มีอาการเหนื่อย , มีอาการนอนราบไม่ได้ , มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น ภายใน 1-2 วัน ความดันโลหิตที่สูงอยู่ก่อนจะลดลง และควบคุม ได้ง่ายขึ้น
- – ส่วนอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ มีอาการมึนงง , มีอาการสับสน , มีอาการไม่มีสติ , มีอาการกระตุก หรือมีอาการชัก เป็นต้น
- – รวมทั้งมีอาการของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ มีอาการคลื้นไส้ , มีอาการอาเจียน , มีอาการเบื่ออาหาร เป็นต้น
- – สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ ภายใน 2-4 สัปดาห์
- – ทั้งนี้ขึ้นกับอาการ และอายุ โรคประจำตัวอื่นๆ ของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษา
การปฏิบัติก่อนการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
- – ผู้ป่วยควรไปฟอกเลือดให้ตรงตามเวลานัดหมาย
- – ควรชั่งน้ำหนักตัวก่อนฟอกเลือด และควรทำความสะอาดแขนข้างที่มีการต่อเส้นเลือด
- – เมื่อพบแพทย์ หรือพยาบาล ต้องบอกอาการผิดปกติทุกอย่างหลังกลับจากการฟอกเลือดครั้งที่แล้วให้แพทย์ทราบก่อนทำการฟอกเลือด เช่น มีอาการไข้ , มีอาการแน่นหน้าอก , มีอาการเหนื่อยหอบ , มีอาการนอนราบไม่ได้ , เกิดอุบัติเหตุหกล้มมีบาดแผล
- – นอกจากนี้สิ่งที่จำเป็นต้องบอกพยาบาลก่อนต่อวงจรไตเทียม ได้แก่ มีเลือดออกตามไรฟัน หรือมีเลือดกำเดาไหล หรือไม่การไปถอนฟัน , การมีประจำเดือน , มีบาดแผลเลือดออก เพราะพยาบาลจะลดขนาดสารกันเลือดแข็งตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันการมีเลือดออกเพิ่มขึ้ม
การฟอกเลือดทำอย่างไร?
- – เริ่มต้นโดยการฉีดเข้าสู่เส้นเลือดพิเศษที่ต้องผ่าตัดเตรียมไว้ก่อน โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้เส้นเลือดที่บริเวณแขน หลังจากที่มีการใช้เข็มเรียบร้อย แล้วต่อเข้ากับสายส่งเลือด เพื่อนำเลือดไปยังตัวกรอง
- – เมื่อเลือดผ่านไปยังตัวกรองเลือดของผู้ป่วยจะมีการแลกเปลี่ยนสารต่างๆ กับน้ำยาชนิดพิเศษที่เรียกว่าน้ำยาล้างไต
- – หลังจากที่เลือดได้ผ่านการทำให้สะอาดแล้ว รวมทั้งมีการปรับให้แร่ธาตุต่างๆ สมดุลแล้วเครื่องจะนำเลือดที่ดีกลับเข้าสู่ผู้ป่วยมีความเข้มข้น ของบรรดาของเสียต่างๆ ลดลง
- – โดยทั้วไปแล้วกระบวนการฟอกเลือดนั้น จะใช้เวลาครั้งละ 4 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากต้องใช้เครื่องไตเทียมในการฟอกเลือดทุกครั้งจึงต้องทำที่โรงพยาบาล หรือศูนย์ไตเทียม โดยมีพยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลอย่างใกล้ชิด
- – หลังจากการฟอกเลือด พยาบาลจะใช้ผ้าก๊อส ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อโรค กดเลือดบริเวณที่นำเข็มออกจนหยุด
- – ผู้ป่วยบางรายอาจกดได้เอง โดยไม่ควรเกิดแรงเกินไป เมื่อปิดแผลหลังเลือดหยุด
- – ผู้ป่วยควรใช้นิ้วแตะ และประคองต่อไปอีกประมาณ 30 นาที เพื่อให้เลือดหยุดสนิด ไม่โดนน้ำ และเปิดพลาสติกออกก่อน 24 ชั่วโมง
- – เพราะอากเกิดการติดเชื้อโรคได้ ผู้ป่วยควรมีเบอร์โทรศัพท์ของห้องไตเทียม
- – เพราะหากมีความจำเป็น หรือปัญหาในวันที่ไม่ได้ทำการฟอกเลือด จะติดต่อสอบถาม เพื่อให้ได้รับคำชี้แจงที่ถูกต้อง
การปฏิบัติตัวในการรับประทานยา
- – รับประทานยาให้ครบทุกชนิดอย่างเคร่งครัด และตรงตามเวลาที่แพทย์สั่ง
- – ไม่เปลี่ยนขนาด หรือซื้อยารับประทานเอง หรือพยายามรู้จักชื่อยาทุกตัวที่แพทย์สั่ง และความสำคัญของการกินยาตรงเวลาเพื่อประสิทธิภาพของการดูดซึมยาน้ำ ยาลดความดันโลหิต ให้กินยาตรงเวลาเสมอ แม้มื้อใดไม่กินอาหาร ก็ต้องกินยา เพื่อลดความดันโลหิตสูง
- – หากลืมกินยาอาจจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ ผู้ป่วยบางคน แพทย์อาจสั่งให้งดยาลดความดันโลหิต มื้อก่อนทำการฟอกเลือด
- – ในกรณีที่มีความดันโลหิตต่ำ ระหว่างการฟอกเลือด ผู้ป่วยไม่ควรทำตามกัน โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะผู้ป่วยแต่ละรายจะต่างกัน
- – ปัญหาจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากการรับประทานยา ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะราย , ยาเพิ่มธาตุเหล็กควรรับประทานท้องว่าง คือ หลังอาหาร 1 ชั่วโมง ยาจะจับฟอสเฟต ได้แก่ แคลเซียมอะซิเตท (Calcium Acetate) ควรรับประทานพร้อมอาหาร
การรักษาโรคไตวายด้วยเครื่องไตเทียม
- – นอกจากจะใช้ยาร่วมด้วยแล้ว การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วย และเรื่องอาหารถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก
- – ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และควรออกกำลังการที่ไม่ใช้แรงมากนัก ถ้ารู้สึกเหนื่อยมาก หรือมีอาการใจสั่นควรหยุดพักทันที และที่สำคัญต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
- – ผู้ป่วยไม่ควรเพิ่ม , ลด , หยุดยา หรือไปซื้อยารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพเร็วกว่าที่ควร และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
- ศูนย์ไตเทียม โทร. 034-166-999 ต่อ 2456